เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 7. คณกโมคคัลลานสูตร

ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นละอภิชฌาในโลก มีใจ
ปราศจากอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา) ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ(ความ
หดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ)
เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละ
วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ จึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้’
[76] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 นี้ที่ทำให้จิตเศร้าหมองบั่นทอนกำลังปัญญา
สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว เข้าปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข
อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เข้าทุติยฌาน ... อยู่ เพราะปีติ
จางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เข้า
ตติยฌาน ... อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
เข้าจตุตถฌาน ... อยู่
พราหมณ์ ในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเสขะ ผู้ยังไม่บรรลุอรหัต ยัง
ปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยมอยู่เหล่านั้น เรามีคำพร่ำสอนเช่นนี้
แต่สำหรับภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว1ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว2
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบเหล่านั้น ธรรมเหล่านี้จึงจะเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุข
ในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะแก่เธอทั้งหลาย”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 7. คณกโมคคัลลานสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว คณกโมคคัลลานพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “สาวกของท่านพระโคดมที่ท่านพระโคดมสั่งสอนอยู่อย่างนี้
พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ สำเร็จนิพพานอันถึงที่สุดโดยส่วนเดียวทุกพวกทีเดียวหรือ
หรือว่าบางพวกก็ไม่สำเร็จ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ สาวกของเราที่เราสั่งสอนอยู่อย่างนี้
พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึงที่สุดโดยส่วนเดียว บางพวกไม่
สำเร็จ”
“อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เป็นเหตุให้นิพพานก็มีอยู่ ทางให้ถึงนิพพาน
ก็มีอยู่ ท่านพระโคดมผู้ชักชวนก็มีพระชนม์อยู่ แต่สาวกของท่านพระโคดมที่ท่าน
พระโคดมสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึงที่สุด
โดยส่วนเดียว บางพวกกลับไม่สำเร็จ”
[77] “พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักถามท่าน ในเรื่องนี้ ท่านชอบใจอย่างไร
พึงพยากรณ์อย่างนั้น
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือท่านชำนาญทางไปกรุงราชคฤห์มิใช่หรือ”
“ใช่ ท่านพระโคดม”
“พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษผู้ปรารถนาจะไป
กรุงราชคฤห์พึงมาในที่นี้ บุรุษนั้นเข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ ขอท่านจงบอกทางไปกรุงราชคฤห์นั้นให้
ข้าพเจ้าด้วยเถิด’ ท่านพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อคุณ มาเถิด ทางนี้ไปกรุงราชคฤห์
ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นหมู่บ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่
หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์
ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภาคพื้นที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของกรุงราชคฤห์’
บุรุษนั้นที่ท่านสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จำทางผิดเดินไปเสีย
ทางตรงกันข้าม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :82 }